ชุดตรวจ syphilis โรคซิฟิลิส (syphilis) เป็นโรคติดเชื้อ จากแบคทีเรีย โดยมีสาเหตุ มาจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย โรคซิฟิลิส เป็นโรคที่ สามารถพบได้บ่อย รองมาจากโรคหนองในแท้ และ หนองในเทียม ผู้ป่วย ติดเชื้อซิฟิลิส หากปล่อยไว้ ไม่เข้ารับการรักษา ผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายอาจมีความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตลงได้ ซิฟิลิสในขั้นเริ่มแรกมักพบได้ตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ช่องปาก ช่องคลอด ทวารหนัก ลิ้น เป็นต้น

ลักษณะ ของแผล หากเป็นแล้ว จะไม่รู้สึกเจ็บ ซึ่งจะเรียกว่าแผลริมแข็ง การแพร่เชื้อของซิฟิลิส เชื้อจะสามารถ แพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ ผ่านทางการสัมผัส กับบาดแผล ผิวหนัง และเยื่อบุต่าง ๆ โดยตรง เมื่อร่างกาย ของเราได้รับเชื้อเข้าไปแล้ว เชื้อซิฟิลิส จะยังไม่แสดงอาการ ออกมาให้เห็นในทันที

เชื้อจะแอบแฝง อยู่ภายในร่างกาย ของเราเป็นเวลานาน และจะแสดงอาการ ให้เห็นอีกภายหลัง โดยทั่วไป จะเรียกระยะนี้ว่า “ระยะแอบแฝง” หากทำการตรวจเจอซิฟิลิส ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะสามารถ รักษาให้หายขาดได้ และหากรักษา ให้หายแล้ว ก็จะไม่กลับมาเป็นอีก

การตรวจวินิจฉัย เกี่ยวกับโรคซิฟิลิส จะสามารถ ทำการตรวจได้ จากหนองที่แผล ในระยะเริ่มแรก หรืออีกวิธี คือ สามารถทำการตรวจ ได้ด้วยเลือด โดยจะแบ่ง วิธีการตรวจออกเป็น 3 วิธีการ คือ

1. การตรวจหาเชื้อซิฟิลิสด้วยวิธีการส่องกล้องจุลทรรศน์ (Dark Field Exam)

เป็น วิธีการตรวจหา เชื้อแบคทีเรีย จะสามารถวินิจฉัย ได้จากการเก็บตัวอย่าง ของเชื้อซิฟิลิส บนผิวหนัง แผล หรือผื่นที่ขึ้นตามตัว

2. การตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อซิฟิลิส

ซึ่งหลัก ๆ จะแบ่งออกเป็น 2 วิธีการ ได้แก่

– การตรวจเลือด เพื่อหาภูมิคุ้มกัน แบบชนิด ไม่เฉพาะเจาะจง ต่อเชื้อซิฟิลิส ไม่ว่าจะเป็น การตรวจแบบ VDRL และ RPR หากได้รับเชื้อ เข้าสู่ร่างกายแล้ว จะเริ่มปรากฏ อาการในช่วงเริ่มแรก และหากผลตรวจ ที่ออกมาเป็นบวก จะต้องทำการตรวจ เลือดอีกครั้ง เพื่อยืนยันผล การวินิจฉัย

– การตรวจเลือด หาเชื้อแบบ ชนิดเฉพาะเจาะจง ต่อเชื้อซิฟิลิส ได้แก่ การตรวจแบบ FTA-ABS (Fluorescent Treponemal Antibody Absorption Test) และ MHA-TP (Microhemagglutination-Treponema Pallidum) วิธีการตรวจนี้ หากผู้ที่ เคยเป็นผู้ป่วยติดเชื้อซิฟิลิส มาก่อนแล้ว และถึงแม้ว่า จะรักษาให้หายแล้ว ก็ตาม หากตรวจด้วย 2 วิธีการนี้ ผลตรวจ อาจจะเป็นบวกได้ โดยที่ไม่จำเป็น ต้องมีการติดเชื้อ ในขณะนั้นก็ได้

3. การตรวจด้วยน้ำไขสันหลัง (Cerebrospinal Fluid Test)

การตรวจด้วย วิธีการนี้ มักจะนิยม ใช้สำหรับผู้ ที่มีความสงสัยว่า ผู้ที่ทำการตรวจนั้น มีการติดเชื้อ ในระบบประสาท หรือไม่

อย่างไรก็ตาม ชุดตรวจ syphilis ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนา การตรวจซิฟิลิส ที่สามารถ ทำการตรวจ ได้ด้วยตนเอง เป็นชนิดแบบ Rapid test ตรวจง่ายรู้ผลเร็ว เป็นอีกหนึ่ง ช่องทางที่ช่วย ให้ผู้ที่ไม่กล้าเดินทาง ไปตรวจตามโรงพยาบาล ได้ทำการตรวจ ได้ด้วยตนเองที่บ้าน

ซึ่งชุดตรวจจะมีความไว แม่นยำ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน โดยชุดตรวจซิฟิลิสด้วยตนเองจะช่วยในการวินิจฉัยโรคซิฟิลิสเบื้องต้นเท่านั้น หากตรวจแล้วพบการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการไหนก็ตาม ควรทำการตรวจซ้ำอีกครั้ง หรือควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี ดังนั้นวิธีการป้องกันการติดเชื้อที่ดีที่สุดคือ การมีเพศสัมพันธ์แบบสวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง และที่สำคัญไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อยเกินไป