ตรวจซิฟิลิส กี่วัน หลังรับเชื้อมาต้องรอกี่วัน ถึงจะตรวจเจอ หากเราไปรับความเสี่ยงมาต้องรอเวลานานแค่ไหน ถึงจะสามารถตรวจรอบแรกได้ กลัวว่าถ้ารีบตรวจจะยังไม่พบเชื้อ เพื่อความมั่นใจควรตรวจหาเชื้อซิฟิลิสที่กี่วัน

โรคซิฟิลิสเกิดจากการได้รับการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Treponema pallidum (ทรีโพนีมา พัลลิดัม)  เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ ผ่านทางบาดแผล ผ่านทางเลือด จากแม่สู่ลูก

โรคซิฟิลิสจะพบอาการอย่างนึงที่ชัดเจน คือ การมีแผลริมแข็ง (chancre) ซึ่งในแผลจะมีเชื้ออยู่มาก จึงสามารถแพร่เชื้อจากแผลผู้ป่วยสู่แผลผู้สัมผัส แม้กระทั่งรอยขีดข่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้

นอกจากนี้การมีบาดแผลในผู้ป่วยซิฟิลิส ยังทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื้ออื่นๆ ได้ง่าย ๆ เช่นกัน ซึ่งเชื้อที่น่าเป็นห่วงก็ คือ เชื้อเอชไอวี ดังนั้น หากพบหรือสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงติดเชื้อซิฟิลิส และคิดว่าจะตรวจเพื่อหาเชื้อ แนะนำว่าให้ตรวจหาเชื้อเอชไอวีเพิ่มเติมอีกหนึ่งโรค

 

ตรวจซิฟิลิส กี่วัน หลังรับเชื้อมาต้องรอกี่วัน ถึงจะตรวจเจอ

เมื่อเชื้อซิฟิลิสเข้าสู่ร่างกาย จะค่อย ๆ เจริญเติบโตและเพิ่มจำนวน ในขณะเดียวกันร่างกายก็จะมีการสร้างแอนติบอดีหรือสารภูมิคุ้มกันเพื่อมากำจัดเชื้อเหล่านี้ โดยปริมาณแอนติบอดีจะเริ่มมีเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 แต่ยังคงมีปริมาณน้อย หากจะเริ่มตรวจครั้งแรก แนะนำเป็นที่  30 วันขึ้นไปหลังเสี่ยง

แต่อย่างไรก็ตามเราขอแนะนำและจัดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

รูปแบบที่ 1

  • ตรวจครั้งแรกที่ 30 วันขึ้นไป สำหรับผู้ที่มีความกังวล หากไม่พบเชื้อให้ตรวจครั้งที่สอง
  • ตรวจครั้งที่สองที่ 35 วันขึ้นไป หากไม่พบเชื้อก็สามารถสบายใจได้แล้ว 99 % แต่หากไม่สบายใจ สามารถตรวจอีกครั้งเพื่อรีเช็คผล
  • ตรวจครั้งที่สามที่ 90  วันขึ้นไป เพื่อรีเช็คผล สามารถมั่นใจได้แล้วเกือบ  100%

รูปแบบที่ 2

  • ตรวจครั้งที่สองที่ 35 วันขึ้นไป หากไม่พบเชื้อก็สามารถสบายใจได้แล้ว 99 % แต่หากไม่สบายใจ สามารถตรวจอีกครั้งเพื่อรีเช็คผล
  • ตรวจครั้งที่สามที่ 90  วันขึ้นไป เพื่อรีเช็คผล สามารถมั่นใจได้แล้วเกือบ  100%

สำหรับผู้ที่ได้รับความเสี่ยงอยู่เสมอ ควรจะตรวจเช็ค ๆ ทุก 3 เดือน

ติดเชื้อซิฟิลิสจะมีอาการอย่างไร

ซิฟิลิสเป็นโรคที่มีอาการหลากหลาย ไม่ชัดเจนว่ามีอาการแบบไหน บางรายนั้นก็ไม่ปรากฏอาการ อย่างไรก็ตามสามารถสรุปอาการเบื้องต้น และแบ่งได้เป็น  4  ระยะ ดังนี้

 

ระยะที่ 1 จะเริ่มปรากฎอาการในช่วง 3 สัปดาห์ หลังได้รับเชื้อ โดยจะเริ่มพบบาดแผลที่เรียกว่า “แผลริมแข็ง” ซึ่งแผลจะไม่มีความเจ็บหรือปวดใด ๆ และสามารถหายไปได้เอง โดยที่ไม่ต้องรักษา แผลดังกล่าวนี้จะขึ้นอยู่บริเวณที่ลับ

เช่น อวัยวะเพศ ช่องคลอด ทวาร ในปาก และอื่น ๆ การที่มักจะขึ้นในที่ลับ แผลไม่เจ็บปวด สามารถหายได้เอง ทำให้ผู้ป่วยไม่ทันได้สังเกตหรือทราบว่ามีแผลนี้เกิดขึ้น ทำให้อาจติดเชื้อแล้วแต่ไม่รู้ตัว

 

ระยะที่ 2 ในระยะนี้แผลอาจจะหายไปแล้ว และจะเริ่มมีผื่นขึ้นตามร่างกาย แขน ขา ฝ่ามือและฝ่าเท้า โดยที่ผื่นนี้ไม่คัน ผื่นนั้นอาจจะไม่ได้บ่งบอกเสมอไปว่าได้รับการติดเชื้อซิฟิลิส อาจจะหมายถึงโรคอื่นก็เป็นได้

อาการที่เกิดร่วมด้วย ได้แก่ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต และอาจจะมีแผลริมแข็งเกิดร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม อาการต่าง ๆ สามารถหายไปได้เอง

 

ระยะแฝงและระยะที่  3  หากไม่มีการรักษาและผ่านระยะที่สองมา อาการก็จะเข้าสู่ระยะแฝง เชื้อนั้นยังคงอยู่ในร่างกายเพียงแต่จะไม่มีอาการผิดปกติ แสดงออกมาให้ทราบ ผู้ป่วยสามารถอยู่ในระยะแฝงได้นานหลายปี

และจะเริ่มเข้าสู่ระยะที่ 3 เมื่อปีที่ 10 โดยเชื้อจะทำลายอวัยวะต่าง ๆ เช่น สมอง หัวใจ ตา ระบบประสาท กระดูก เป็นต้น ทำให้อาจเสียชีวิตได้ หรือเป็นอัมพาต ตาบอด หูหนวก โรคหัวใจ และอื่น ๆ

 

การตรวจซิฟิลิสสามารถตรวจได้  2 แบบ  คือ ตรวจจากเลือด และตรวจจากการเก็บตัวอย่างเชื้อตามบาดแผล ผื่น หรือ น้ำเหลือง  โดยทั่วไปจะนิยมตรวจจากเลือด หากตรวจคัดกรองครั้งแรกและพบว่าติดเชื้อ จะดำเนินการตรวจอีกครั้งด้วยวิธีอื่น เพื่อยืนยันผล

อยากตรวจซิฟิลิส แต่ไม่สะดวกไปสถานพยาบาล เลือกตรวจคัดกรองด้วยเอง ตรวจไม่ยาก สามารถตรวจคัดกรองได้ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน ไม่กี่นาทีก็สามารถทราบผลได้ ตรวจจากเลือดที่ปลายนิ้ว  1-2  หยด ไม่น่ากลัว สะดวกสบายกว่าที่คิด อุปกรณ์ครบ ชุดตรวจมาตรฐาน

การตรวจคัดกรองเอชไอวี และซิฟิลิสอยู่เสมอ ถือเป็นเรื่องที่ควรให้ความสนใจ เพราะหากตรวจพบเชื้อตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะสามารถเข้าสู่การรักษาได้ไว ลดอัตราในการเสียชีวิต หรือการเจ็บป่วยที่รุนแรง