โรคซิฟิลิส คือ อะไร ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่ชื่อว่า ทรีโพนีมา พัลลิดุม (Treponema Pallidum)

ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านทางการสัมผัสกับผู้ป่วยติดเชื้อ การจูบ การสัมผัสกับแผล การรับเลือด

รวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วยเช่นกัน โดยปกติแล้วปัญหาของโรคส่วนใหญ่คือผู้ป่วยซิฟิลิสมักที่จะไม่รู้ตัวว่าตนเองได้รับเชื้อ

เนื่องจากว่าอาการหลังการติดเชื้อในระยะแรกนั้นจะไม่แสดงอาการ และเชื้อโรคก็จะดำเนินการไปอย่างเงียบ ๆ

ก่อนที่จะมีการแสดงอาการในระยะเวลานานหลายปีหลัง โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์มักจะเรียกระยะนี้ว่าระยะแฝง

ซึ่งในระยะนี้หากเกิดการติดเชื้อ และตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็มีโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้ แต่หากปล่อยไว้

ไม่เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม ก็อาจส่งผลให้โรคดำเนินการไปสู่ระยะที่รุนแรงมากขึ้น

จนส่งผลให้เกิดปัญหารุนแรงกับร่างกายตามมาในภายหลังได้

 

 

การติดเชื้อซิฟิลิสนั้น โดยหลัก ๆ แล้วจะแบ่ง ออกเป็น 4 ระยะ ซึ่งใน แต่ละระยะนั้น ก็จะมีอาการที่ แตกต่างกัน ออกไป

อย่างไรก็ตาม การดำเนิน การของโรค ก็อาจไม่ได้ ดำเนิน ตามระยะ อาจมี การสลับ หรือซ้อนทับกัน ตามระยะต่าง ๆ ได้

  • ระยะแฝง (Latent Stage) ในระยะนี้อาการของโรคอาจกินระยะเวลานานหลายปีหลังจากได้รับเชื้อ ซึ่งเป็นระยะที่ไม่แสดงอาการใด ๆ

ที่สามารถบ่งบอกได้ว่ามีการติดเชื้อซิฟิลิส ซึ่งการเจาะเลือดไปตรวจจะเป็นทางเดียวที่สามารถตรวจสอบได้ว่า ร่างกายเกิดการติดเชื้อซิฟิลิสหรือไม่นั่นเอง

ในระยะแฝงนี้อาจจะเกิดขึ้นในช่วงระยะใดก็ได้ในช่วงระยะซิฟิลิสทั้ง 3 ระยะที่จะกล่าวต่อไปนี้ ดังนั้น ถ้าเสี่ยงมาก็เลือกที่จะตรวจดีที่สุด
  • ระยะที่ 1 เมื่อได้รับ เชื้อซิฟิลิส เข้าสู่ร่างกายแล้ว ในระยะแรก จะมีการ แสดงอาการเริ่มต้น ด้วยการเป็น แผลเล็ก ๆ หรือที่ เราเรียกกันว่า

แผลริมแข็ง (Chancre) โดยทั่วไปแล้ว จะเกิดขึ้น หลังจาก ที่เชื้อแบคที เรียกได้ เข้าสู่ร่างกายแล้ว ประมาณ 3 สัปดาห์

ซึ่งในเพศชาย มักเกิดขึ้น บริเวณปลาย หรือ ลำอวัยวะเพศ แต่ปกติแล้ว จะเกิดขึ้นเพียง ตำแหน่งเดียว จึงทำให้ผู้ มีความเสี่ยง บางรายไม่รู้ตัว

ว่ามีแผลเกิดขึ้น เนื่องจาก ไม่มีการแสดงอาการ หรือมี อาการปวด หลังจากนั้น อาการก็ จะหายไปได้เอง ตามระยะเวลา ถึงแม้ ไม่ได้รับ การรักษา ก็ตาม

  • ระยะที่ 2 เมื่อเข้าสู่ ระยะที่สองแล้ว อาการของ ซิฟิลิส จะค่อย ๆ ปรากฏให้เห็น เช่น มีผื่นขึ้นบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า

หรืออาจ กระจายไป ทั่วร่างกาย โดยไม่มี แม้แต่ อาการคัน นอกจากนี้ อาจมี ผื่นสีเทาขึ้น ตามปาก คอ ปากมดลูก

รวมไปถึง การเป็น หูดขึ้นตาม รักแร้ ทวารหนัก และขาหนีบ ทั้งยังมี อาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ

เจ็บคอ ผมร่วง และต่อมน้ำเหลืองโต โดยอาการดังกล่าวจะสามารถหายไปได้เอง แต่ก็มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้เช่นกัน

  • ระยะที่ 3 ในระยะนี้ผู้ป่วยประมาณ 15-30% ที่ไม่ได้รับการรักษาทั้งหมด โรคจะดำเนินต่อเนื่องไปสู่ระยะที่สาม

และโรค จะพัฒนา ไปเรื่อย ๆ จนส่งผล ต่ออวัยวะ สำคัญ ของร่างกาย ทำให้เกิด ผลกระทบ ต่อสมอง ระบบประสาท หัวใจ เส้นเลือด

กระดูก หรือ ข้อต่อ หากเข้ารับ การรักษา ไม่ทัน ก็อาจทำให้ อวัยวะถูก ทำลายจน ไม่สามารถ กลับมา ใช้งาน ปกติได้

นอกจากนี้ ยังอาจ ส่งผล กระทบ ต่อร่างกาย จนนำไปสู่ การเสียชีวิตลง ในที่สุด

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับใคร ที่คิดว่า ตนเอง มีความเสี่ยง ต่อการ ติดเชื้อซิฟิลิส สามารถ ทำการ ตรวจคัดกรอง เบื้องต้น ได้ด้วยตนเอง

เพราะใน ปัจจุบันนี้มี ชุดตรวจซิฟิลิส ที่ สามารถใช้ ตรวจคัดกรอง เบื้องต้น รู้ผลได้เร็ว มีความ ปลอดภัย แม่นยำ และได้ มาตรฐาน

เพื่อคลาย ความ กังวลใจ เพราะหาก ตรวจเจอ เชื้อตั้งแต่ เนิ่น ๆ ก็มีโอกาส ในการ รักษา ให้หาย และเข้ารับ การรักษา

ได้อย่าง ถูกต้อง และเหมาะสม เพื่อลด การแพร่ กระจาย เชื้อ ซิฟิลิส ไปสู่ บุคคลอื่น

 

ความเสี่ยงในการรับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์นั้น ไม่ได้มีแค่ซิฟิลิสเพียงโรคเดียวเท่านั้น จะมีโรคอื่น ๆ อีก ที่อยู่ในกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์