โรคซิฟิลิส อันตรายไหม

โรคซิฟิลิส อันตรายไหม ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ถือว่ามีความอันตรายไม่แพ้โรคเอดส์เลยก็ว่าได้

เพราะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยอดฮิต ที่แฝงตัวอยู่ในสังคมเรามาอย่างช้านาน ซึ่งคนส่วนใหญ่จะมองว่า

โรคซิฟิลิสเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง จนทำให้คนส่วนใหญ่ยังตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ไม่มากพอ แต่รู้หรือไม่ว่า โรคซิฟิลิสก็เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีความร้ายแรง และอันตรายเป็นอย่างมาก

โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นกับกลุ่มวัยที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้แล้ว เพราะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง

และหากว่าไม่คำนึงถึงความสำคัญในการป้องกัน ก็จะทำให้มีโอกาสติดโรคทางเพศสัมพันธ์ได้มากกว่า

 

อย่างไรก็ตาม หากถามว่า โรคซิฟิลิส อันตรายไหม วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับโรคซิฟิลิสที่หลาย ๆ คนนั้น

มองข้ามถึงความอันตรายของโรค ว่าจะมีความอันตรายมากแค่ไหน เพื่อให้ทุกคนได้คำนึงถึงความปลอดภัย

และรู้จักป้องกันการติดเชื้อกันให้มากขึ้น

 

การติดเชื้อซิฟิลิส โดยหลัก ๆ จะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ด้วยกัน คือ

– ระยะที่ 1 เป็นระยะแรกของการติดเชื้อซิฟิลิส ซึ่งเป็นระยะที่เชื้อซิฟิลิสสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายมากที่สุด

เนื่องจากว่าในระยะนี้จะไม่ได้มีอาการปวดที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเกิดความผิดปกติภายในร่างกาย

แต่หลัก ๆ จะมีอาการที่สังเกตได้ คือ แผลริมแข็ง ซึ่งอาจมีแผลเล็ก ๆ สีแดง มีลักษณะแข็ง ๆ

อาจเป็นแค่แผลเดียว หรือหลายแผลก็ได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในที่ลับ จึงทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้สังเกต

อาทิเช่น ทวารหนัก ช่องคลอด ช่องปาก หรือองคชาต จนทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อซิฟิลิส

และอาจแพร่กระจายเชื้อไปยังบุคคลอื่นได้โดยไม่ได้ตั้งใจ อีกทั้งแผลนี้จะหายไปได้เอง แม้ไม่มีการรักษา

– ระยะที่ 2 หลังจากผ่านระยะที่เป็นแผลริมแข็งมาแล้วประมาณ 1 เดือน เชื้อซิฟิลิสก็จะดำเนินไปสู่ระยะที่ 2

ซึ่งจะ แสดงอาการ โดยมี ผื่นขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า แต่ผื่นดังกล่าว จะไม่มี อาการคัน โดยแผลจะมี ลักษณะจาง ๆ

จึงทำให้ ผู้ป่วย บางรายไม่ได้สนใจ หรืออาจ ไม่ได้ ตื่นตระหน กมากนัก ถึงแม้ว่า ผู้ป่วย บางราย อาจมีไข้

หรือ มีอาการ ปวดเมื่อยอ่อนเพลีย ร่วมด้วย ซึ่งอาการ ดังกล่าว ที่เกิดขึ้น หากปล่อยผ่าน ไปสักพัก ก็จะหายไปได้เอง

จึงทำให้ ผู้ป่วยมองข้ามว่า ตัวเอง มีอาการที่ ผิดปกติ และไม่เข้ารับ การตรวจ วินิจฉัย ถึงแม้ อาการ จะหายไป

แต่เชื้อซิฟิลิส ก็จะยังคง ดำเนิน การอยู่ และแพร่กระจาย เชื้อต่อไป

– ระยะที่ 3 ในระยะที่ 2 ที่ผ่านมา หากผู้ป่วย ยังไม่รู้ตัวว่า ตนเองติดเชื้อ และไม่ได้ เข้ารับ การรักษา ถึงแม้ว่า อาการดังกล่าว

จะหายไป เหมือนกับว่า ไม่มี อะไรเกิดขึ้น แต่เชื้อซิฟิลิส ก็จะยัง คงแฝงตัว และดำเนินโรคต่อไป อยู่ภาย ในร่างกาย

ซึ่งเชื้อ อาจอยู่ได้นาน เป็นปีแบบ ไม่มีอาการ ซึ่งนั่นก็ อาจเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ผู้ป่วย แพร่กระจายเชื้อ

และอาจทำให้ เชื้อลุกลาม เป็นวงกว้าง ดังนั้น เมื่อพ้น ระยะแฝง ไปแล้ว กว่าผู้ป่วย จะรู้ตัวอีกที

โรคก็ ดำเนินไปถึง ระยะ สุดท้ายแล้ว ซึ่งเป็น ระยะที่ อันตราย ถึงขั้นเสียชีวิต ลงได้

– ระยะที่ 4 เป็น ระยะสุดท้าย ของ การติดเชื้อ ซิฟิลิส ซึ่งเป็นระยะ ที่มี ความอันตราย ถึงขั้น ทำให้เสียชีวิต

ในระยะนี้ ผู้ป่วย บางราย อาจอยู่ ได้นานถึง 10 ปี เมื่อถึง ช่วงนี้ เมื่อไหร่ นั่นหมายความว่า เชื้อได้ แพร่กระจายไป ทั่วร่างกายแล้ว

จนทำให้ อวัยวะ ต่าง ๆ ถูกทำลายลงไป ทีละส่วน เช่น หัวใจ สมอง เส้นเลือด กระดูก ตา หรือ อาจส่งผล ให้ผู้ป่วย

มีอาการ ทางสมอง เคลื่อนไหว ร่างกาย ไม่ได้ ความ สามารถ ในการ มองเห็น ลดลง จน สุดท้าย อาจเสียชีวิต ลงในที่สุด

 

 

อย่างไรก็ตาม โรคซิฟิลิส อันตราย ไหม ขอบอก เลยว่า โรคซิฟิลิส ก็มี ความ อันตราย ไม่แพ้ โรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ชนิดอื่น ๆ

ดังนั้น การเข้ารับ การรักษา จึงเป็น สิ่งสำคัญ ที่เราไม่ควร มองข้าม เพราะถ้าหาก ไปได้รับ ความเสี่ยงมา

การ เข้ารับ การตรวจ ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็มี โอกาส ในการ รักษา ให้หายขาดได้ และไม่ทำให้ เชื้อพัฒนา ไปสู่ระยะ ที่เป็น อันตราย ต่อร่างกายได้